ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ครุศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
ชื่อย่อ : ค.บ. (ภาษาไทย)ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Education (Thai) ชื่อย่อ : B.Ed. (Thai)
ประวัติความเป็นมา
ในปีการศึกษา 2565 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่วมกับคณะครุศาสตร์ ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาการในการนำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 2 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565 และสภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรฯ ในการประชุม ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565 ในลำดับต่อมา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้การรับรอง/รับทราบหลักสูตรเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ได้รับรองคุณวุฒิเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ครุสภารับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาตามมาตรฐานวิชาชีพ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาภาษาไทย ได้เปิดทำการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นมา
3.ปรัชญาของหลักสูตร
“ครูดี มีจิตอาสา คุณธรรมนำปัญญา พัฒนาท้องถิ่น”
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย มุ่งผลิตครูที่มีคุณภาพสูง มีความรู้คู่คุณธรรม สามารถบูรณาการความรู้ ทักษะ เจตคติ คุณธรรม และจริยธรรมแห่งวิชาชีพไปสู่การจัดการศึกษาและพัฒนาครู ให้เป็นคนดี มีสติปัญญา ความสามารถ และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และสามารถเผชิญปัญหาหรือวิกฤติได้ด้วยสติปัญญา
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีคุณลักษณะ ดังนี้
1) เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการสอนภาษาไทย สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศ
2) เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยและการพัฒนาหลักสูตรทางด้านการเรียนการสอนการสอนภาษาไทยที่จะส่งผลให้ครู มีความรู้ความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของการศึกษาของชาติ
3) เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความรับผิดชอบสูงต่อวิชาการและวิชาชีพ มีความอดทน ใจกว้าง และมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพครู อย่างมีคุณภาพ และเป็นไปตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพครู
4) ความรอบรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย สามารถประยุกต์ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่สำหรับการประกอบวิชาชีพหรือการศึกษาในระดับสูงขึ้นในอนาคต
5) มีศักยภาพที่จะพัฒนางานในหน้าที่ และเส้นทางวิชาชีพให้มีความก้าวหน้าเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานหน้าที่ครูได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
เลขที่ 2 ถนนราชธานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โทร: 04 5352 000 ต่อ 1500 อีเมล์ : human@ubru.ac.th , อีเมล์ฝ่ายงานวิจัยและบริการชุมชน Research.human.ubru@gmail.com